เสื้อวงวินเทจในยุค80-90






คำว่า “วินเทจ ” และที่มาความนิยมของเสื้อทัวร์วินเทจกันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาพูดถึงเหตุผลว่าทำไมเสื้อเหล่านี้จึงราคาแพง ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อราคา ลายไหนฮิต รวมถึงคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้น และวิธีสังเกตของวินเทจแท้กันต่อครับ

หตุผลที่ราคาแพง 
เดิมทีเสื้อทัวร์วงต่างๆ ในยุค 70-80s นั้นขายกันในราคาที่จับต้องได้ เหตุที่เสื้อยืดวินเทจเหล่านี้กลายเป็นของสะสมราคาแพงมีหลายอย่าง หลักๆ คือ เป็นของเก่า และเป็นของหายาก เนื่องจากมักจะผลิตมาในจำนวนจำกัด ตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพัน บางลายผลิตโดยค่ายเพลงอย่างเป็นทางการ แต่บางลายเป็นเสื้อที่แฟนคลับทำขึ้นมาเองโดยไม่ได้ขออนุญาตจากศิลปินหรือ ค่ายเพลง ที่เรียกกันว่า “เสื้อ bootleg” ซึ่งกว่าจะเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันก็มีแค่ไม่กี่ตัว แต่ทั้งเสื้อสองแบบก็เป็นที่ต้องการของตลาดพอๆ กัน        


•     เนื้อผ้า เสื้อผ้าในยุค 7080s มักจะทำด้วยผ้าที่ผสมระหว่างใยสังเคราะห์กับใยธรรมชาติ แบบที่นิยมกันมากที่สุดคือ โพลีเอสเตอร์ (polyester) 50% และฝ้าย (cotton) 50% หรือ poly-cotton ที่บ้านเราเรียกกันว่า “ผ้าบาง 50” หรือ “ผ้ามุ้ง ” เพราะมีความโปร่ง บาง เหมือนมุ้ง ส่วนผสมดังกล่าวทำให้เสื้อที่ทำจากผ้า poly-cotton ยับยาก ไม่หดง่ายเท่า cotton 100% หลายเสียงอ้างว่าแม้ทำจากผ้า cotton เหมือนกัน แต่เสื้อวินเทจจากยุคนั้นใช้ cotton เกรดดีกว่า จึงมีความนุ่มสบายกว่าเสื้อในยุคปัจจุบัน เสื้อวินเทจที่ทำจาก poly-cotton จึงมีราคาแพงกว่า cotton 100% บางตัวอาจเป็น “ผ้าสามเนื้อ ” เพราะมีส่วนผสมของเรยอง (rayon) 15-30% ซึ่งจะทำให้ผ้าออกเป็นสีเทา ซึ่งในเมืองไทยและมาเลเซียจะนิยมผ้าที่มี rayon ผสม และซื้อขายกันในราคาแพงกว่า poly-cotton ทั่วไปมาก ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่ได้นิยม rayon เท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม เสื้อวินเทจที่เป็น cotton 100% ก็มีเช่นกัน

•     ผลิตโดยค่ายเพลง เสื้อที่มีคำว่า “official” ที่หมายถึงเป็นการผลิตอย่างเป็นทางการโดยค่ายเพลง หรือเครื่องหมาย © ซึ่งแสดงถึงลิขสิทธิ์ถูกต้อง มักจะมีราคาแพงกว่าเสื้อ bootleg ที่แฟนคลับทำเอง ทั้งนี้ เสื้อลิขสิทธิ์ยังมีคุณภาพที่ดีและมักได้รับการออกแบบที่ดูดีกว่าเสื้อ bootleg




ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา 
โดยทั่วไป หากเสื้อวินเทจตัวนั้นไม่มีความพิเศษอะไรมาก มักจะซื้อขายกันที่ราคาตั้งแต่หลักร้อยปลายๆ ถึงหลักพันต้นๆ แต่หากมีความพิเศษมากหน่อยก็อาจขายได้ตั้งแต่ราคาหลักพันกลางๆ ไปจนถึงหลักหมื่น หรืออาจถึงแสนในบางครั้ง ที่จริงแล้วราคาขึ้นอยู่กับความพอใจและรสนิยมของผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหลัก รวมทั้งราคาที่ประมูลกันใน eBay ล่าสุด ไม่มีราคากลางที่แน่นอนให้เทียบ โดยมีตัวแปรมากมาย ดังต่อไปนี้
•     ระดับความหายาก แน่นอนว่ายิ่งลายหายากในตลาด ราคายิ่งแพง สาเหตุอาจเป็นได้ทั้งความเก่าแก่ของเสื้อ จำนวนผลิตที่น้อยมาก เป็นลายที่ไม่ได้รับความนิยมในตอนนั้น หรือเป็นของที่นักสะสมอยากเก็บไว้เอง เป็นต้น
•     อายุ ยิ่งปีเก่ายิ่งราคาแพง ซึ่งเสื้อบางลายจะมีการสกรีนตัวเลขปีที่ผลิตบอกเอาไว้
•     สภาพ ยิ่งภาพสมบูรณ์ราคายิ่งแพง แต่ตำหนิต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสีเสื้อหมอง เนื้อผ้าเริ่มเปื่อยยุ่ย มีคราบ ลายสกรีนแตก มีรู ฉีกขาด ตะเข็บหลุด มีร่องรอยการซ่อมแซม ป้ายที่คอซีด นั้นแม้ว่ามีผลต่อราคาแต่ก็ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเสื้อวินเทจ และสำหรับนักสะสมบางคน เสื้อยิ่งเก่ายิ่งชอบ จึงไม่แปลกที่เสื้อในสภาพผ้าขี้ริ้วบางตัวก็ยังขายได้ราคาดี
•     กระแส ในแต่ละช่วงนั้น เสื้อบางลาย หรือทำด้วยเทคนิคบางอย่างจะมีราคาแพงเป็นพิเศษตามความนิยมในตลาด เช่น ช่วงหนึ่งเสื้อที่ใช้เทคนิค acid washหรือที่บ้านเราเรียกว่า “ผ้ากัด ” โดยใช้น้ำยามากัดเสื้อสีดำให้มีสีขาวเป็นลายต่างๆ นั้นได้รับความนิยม ราคาเสื้อชนิดนี้ก็จะสูงตาม พอหมดกระแส คนเริ่มเบื่อ ราคาในตลาดก็จะปรับให้ถูกลง หรืออาจเป็นลายของวงที่เพิ่งประกาศ reunion และออกทัวร์ครั้งใหม่ ทำให้เป็นที่ต้องการมากในช่วงเวลาหนึ่ง
•     ชื่อเสียงของศิลปิน เสื้อลายศิลปินชื่อดังมักจะมีราคาแพง บางตัวอาจมีความพิเศษ อาจเป็นลายที่มีสมาชิกในวงบางคน(หรือทุกคน)เสียชีวิตไปแล้วก็อาจแพงขึ้นไปอีก เช่น เสื้อวง Ramones ที่เป็นลายสมาชิกดั้งเดิมทั้ง 4 คนของวง บางวงที่ไม่ค่อยดังแต่มีประวัติน่าสนใจบางอย่างหรือมีแฟนเพลงจำนวนหนึ่งตามหาก็อาจขายได้ราคาดีเช่นกัน ทั้งนี้ความนิยมของแฟนเพลงในแต่ละพื้นที่ทั่วโลกก็ต่างกัน จึงไม่แปลกที่เสื้อบางลายจะขายได้ราคาแพงในบางพื้นที่ แต่อาจขายไม่ได้เลยในบางพื้นที่

 ศิลปินจัสติน บีเบอร์


สาเหตุ หากเสื้อตัวนั้นมีประวัติ เช่น เป็นเสื้อที่ศิลปินหรือดาราดังเคยสวมใส่จะยิ่งทำให้ราคาแพงลิบลิ่ว แต่การพิสูจน์ว่าจริงหรือเปล่านั้นเป็นเรื่องยากมาก

ความคิดเห็น